พัฒนาผลตอบแทนจากความสัมพันธ์กับลูกค้า (ROR) อย่างไรดี?

วันนี้ ธุรกิจมักให้ความสำคัญกับผลตอบแทนจากการลงทุน หรือ Return on Investment (ROI) ไม่ว่าจะมาจากการลงทุนจากการตลาด จากการวิจัยผลิตภัณฑ์ หรืออื่นๆ

แต่ยังมีอีกผลตอบแทนหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยต่อความมั่นคงของแบรนด์และค่าความนิยม (Goodwill) ที่ได้มาจากลูกค้า เรียกว่า ผลตอบแทนจากความสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ Return on Relationship (ROR)

ทำไมความสัมพันธ์กับลูกค้าถึงมีความสำคัญอย่างมาก?

ลูกค้าที่จงรักภักดีต่อแบรนด์หายากขึ้น ลูกค้าไม่ไว้วางใจต่อแบรนด์ก็มีมากขึ้นเช่นกัน ทำให้ลูกค้ามองหาความคิดเห็นจากคนอื่นๆ โดยฉพาะในสังคมออนไลน์

ความคิดเห็นเหล่านี้มาจากหลากหลายแหล่ง เช่น การรีวิวสินค้า เพื่อนในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ห้องสนทนาออนไลน์ เป็นต้น ความคิดเห็นจะมีทั้งชื่นชมและตำหนิในแบรนด์หรือธุรกิจของคุณ

แล้วคุณจะรับมือกับลูกค้าที่ไม่เชื่อถือในแบรนด์หรือธุรกิจของคุณได้อย่างไร เพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกันต่อไป

กลยุทธ์ในการใช้การส่งข้อความหรือสื่อโฆษณาไปยังลูกค้า เพื่อตอกย้ำความน่าเชื่อถืออาจจะทำได้ไม่ยาก แต่ผลตอบแทนจากความสัมพันธ์กับลูกค้าจะคุ้มค่ามั้ย การสร้างความน่าเชื่อถือไม่สามารถใช้ข้อความประสัมพันธ์และสื่อโฆษณาเพียงอย่างเดียวได้

ลองกลยุทธ์เหล่านี้ว่าจะช่วยคุณพัฒนาผลตอบแทนจากความสัมพันธ์กับลูกค้าได้มากเพียงใด

เริ่มง่ายๆ ที่สร้างองค์กรที่มีวัฒนธรรมลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

คุณจะต้องสร้างวัฒนธรรมขององค์กรให้พนักงานทุกคนมีจิตสำนึกในการสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร ขาย การตลาด บริการ การเงิน บัญชี หรือทุกคน ให้เห็นว่าคนละเล็กละน้อยสามารถสร้างพลังและสร้างความไว้วางใจที่ดีต่อลูกค้าได้

จากนั้น คุณจะต้องกำหนดดัชนีความพึงพอใจของลูกค้าเป็นเป้าหมายหลักและประกาศให้พนักงานทุกคนได้ทราบอย่างทั่วถึง เพื่อจะได้มีเป้าหมายเดียวกัน แล้วเข้าใจได้ว่ามูลค่าตลอดช่วงชีวิตที่ลูกค้ามีต่อบริษัทมีความสำคัญอย่างไรและจะได้มาได้อย่างไร

เน้นความสำคัญของการบริการลูกค้า

ธุรกิจมักให้ความสำคัญและงบประมาณไปกับสื่อโฆษณาและแคมเปญการตลาดเพื่อได้ลูกค้าใหม่ โดยให้ความสำคัญกับการลงทุนในการบริการลูกค้าน้อย อย่าลืมว่าเดี๋ยวนี้ลูกค้าจะติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าก่อนที่จะซื้อสินค้าและบริการจากคุณอีก

ถ้าการบริการลูกค้าที่ไม่ดี คุณอาจจะเสียทั้งลูกค้าใหม่และลูกค้าปัจจุบันได้ เพราะลูกค้ายิ่งไม่ไว้วางใจในแบรนด์ของคุณและมองหาคู่แข่งที่มีบริการที่ดีกว่า

ลงทุนในเทคโนโลยีสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อลูกค้า

การสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อลูกค้าสามารถพัฒนาด้วยการปรับปรุงกระบวนการและอบรมพนักงานที่ต้องพบกับลูกค้าทั้งออฟไลน์และออนไลน์ พนักงานจะต้องประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ แน่นอนว่าการลงทุนในเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจลูกค้า เข้าถึงลูกและประสานงานภายในและภายนอกองค์กรได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น

  • ซอฟต์แวร์วิเคราะห์ความรู้สึกของลูกค้าต่อแบรนด์ (Social Media Sentiment Analysis)
  • ระบบประเมินผลความพึงพอใจของลูกค้า
  • ระบบสื่อสารและประสานงานภายในและภายนอกองค์กร

ออกแบบจุดสัมผัสบริการใหม่

จุดสัมผัสบริการ หรือ Touchpoints มีความสำคัญอย่างมากในการสร้างประทับใจและสร้างความน่าเชื่อถือต่อลูกค้า พิจารณาจุดสัมผัสบริการที่เรามีว่าสามารถตอบสองความต้องการของลูกค้าได้หรือไม่? แล้วพิจารณาความต้องการของลูกค้าอย่างไร

  • คำถามที่ลูกค้ามักจะถาม?
  • อะไรคือปัญหาที่ลูกค้าพบ?
  • แล้วจุดสัมผัสบริการจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร?
  • ทำอย่างไรให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ ว้าว!

บางทีคุณอาจจะต้องออกแบบคำพูดของพนักงานใหม่ ออกแบบอีเมล์ที่ส่งให้ลูกค้าใหม่ เปิดเพลงด้วยบรรยากาศที่ดีขึ้น แล้วมันจะสร้างประสบการณ์ ว้าว! ให้กับลูกค้าได้

ช่วยทุกคนบนสื่อสังคมออนไลน์

ทุกจุดสัมผัสบริการไม่สามารถช่วยเหลือลูกค้าได้หมด ดังนั้น คุณจะต้องทบทวนเนื้อหาในเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ของคุณว่ามีครบถ้วนเพียงพอ

ทีมงานสื่อสังคมออนไลน์ของคุณจะต้องช่วยเหลือลูกค้าได้อย่างทันท่วงที อย่าให้การตอบช้าเป็นอุปสรรคต่อโอกาสการขายของคุณ งานนี้รวมไปถึงสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ ด้วยที่คุยถึงแบรนด์ของคุณอยู่

สุดท้าย สร้างแฟนพันธ์แท้ (Loyal Brand Ambassador)

การลงทุนไปกับการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าก็เพื่อที่จะได้ลูกค้าแฟนพันธ์แท้ที่จะช่วยขยาย ส่งต่อหรือแชร์ข้อความประชาสัมพันธ์ไปยังเพื่อนๆ และช่วยปกป้องแบรนด์ของคุณเมือเกิดปัญหา

ลองใช้กลยุทธ์ข้างต้นแล้วสร้างแฟนพันธ์แท้ให้มากขึ้น รับรองได้ว่าคุณจะพัฒนาผลตอบแทนจากความสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างคุ้มค่า

นาวิก นำเสียง

กรรมการผู้จัดการ

บริษัท ซันเด โซลูชันส์ จำกัด

navik@sundae.co.th

การตลาดที่ผสมผสานระหว่างออนไลน์และออฟไลน์

            การได้มาซึ่งลูกค้าหรือการแปลงแปลงจากผู้สนใจเป็นลูกค้า (Conversion) ถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของการตลาด บ่อยครั้งที่นักการตลาดมักจะพิจารณากลยุทธ์ไปในข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป เช่น มุ่งเน้นการตลาดออนไลน์อย่างเดียวโดยลืมไปว่าลูกค้าเดียวกันนี้อาจจะติดต่อธุรกิจผ่านทางออฟไลน์ด้วยก็ได้ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าไม่ได้รับประสบการณ์ที่ดีจากธุรกิจ

            ผมขอนิยามง่ายๆ เกี่ยวกับการออนไลน์และออฟไลน์นิดเพื่อความเข้าใจร่วมกัน

            “ออนไลน์” ในที่นี้หมายถึงกิจกรรมหรือสื่อการตลาดที่ธุรกิจสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางสมัยใหม่ที่เรียกว่า สื่อออนไลน์ (Online) ได้แก่ เว็บไซต์ โมบายแอฟ สื่อสังคมออนไลน์ ไลน์ เป็นต้น แน่นอนว่า ออนไลน์ได้มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการตลาดวันนี้ เพราะความสามารถในการเข้าถึงลูกค้าอย่างไร้พรมแดน การสื่อสารกับลูกค้าแบบ 1-ต่อ-1 การวัดผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำ ต้นทุนที่ไม่สูง และอีกมากเมือเทียบกับออฟไลน์

            “ออฟไลน์” หมายถึงกิจกรรมหรือสื่อการตลาดแบบดั่งเดิม โดยส่วนมากแล้วจะเป็นการตลาดแบบวงกว้าง ไม่จงเจาะ อาทิ สื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ งานอีเวนต์ เป็นต้น แต่ก็มีบ้างที่เป็นกิจกรรมแบบการตลาดเจาะจง เช่น พนักงานขาย งานอีเวนต์เฉพาะกลุ่มลูกค้า ไดเร็คเมล์ เป็นต้น การตลาดออฟไลน์จะใช้ต้นทุนที่สูงและได้รับผลตอบรับที่น้อยกว่าการตลาดออนไลน์ อย่างไรก็ตาม ก็ไม่เสมอไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการนำการตลาดออฟไลน์ไปใช้อย่างเหมาะสมมากกว่า

            หัวใจสำคัญของการตลาดในวันนี้คือการผสมผสานการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน มองให้ทั้งสองเป็นหนึ่งเดียว เป้าหมายเพื่อให้ได้ลูกค้ามากที่สุดหรือรายได้สูงสุด

            แนวคิดใหม่ของกลยุทธ์ธุรกิจวันนี้ บริษัทจะต้องเริ่มบริการกับลูกค้าตั้งแต่กระบวนตัดสินใจซื้อของลูกค้า ไม่ใช่ต้องเป็นลูกค้าเสียก่อนถึงจะให้บริการได้ จากงานวิจัยของ Forrester ในปี พ.ศ.​2559 พบว่า ร้อยละ 53% ของผู้บริโภคจะเปลี่ยนใจหรือยกเลิกการซื้อถ้าไม่ได้รับบริการหรือได้รับคำตอบที่ดีจากแบรนด์ ดังนั้น หน่วยบริการลูกค้าจะต้องสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเสียก่อน มิฉะนั้น ธุรกิจอาจจะขายสินค้าหรือบริการไม่ได้เลย

            เหล่านี้คือความจริงที่ธุรกิจควรจะนำมาพิจารณาผสมผสานระหว่างการตลาดออนไลน์และออฟไลน์

#1 ผู้บริโภคใช้อุปกรณ์สื่อสารมากกว่าหนึ่งอุปกรณ์ในการตัดสินใจซื้อ

            จากผลการวิจัยของ Google พบว่าร้อยละ 90 ของผู้บริโภคจะใช้อุปกรณ์สื่อสารมากกว่าหนึ่งหน้าจอ เช่น สมาร์ทโฟน แท็ปแล็ต คอมพิวเตอร์เดสท็อป ทีวี เป็นต้น ในแต่ละวันของกิจกรรมการซื้อสินค้า ไม่ว่าเป็นการค้นหาโรงแรม ช็อปปิ้งออนไลน์ เป็นต้น

            นักการตลาดจะต้องสื่อสารไปยังผู้บริโภคและปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคที่สามารถรองรับหลากหลายอุปกรณ์ให้ได้ เช่น โฆษณาบน Facebook ที่รองรับทั้งสมาร์ทโฟนและคอมพวิเตอร์เดสท็อป และโฆษณาเดียวกันนี้ให้ปรากฏในสื่อวิดีโอทั้ง Youtube และ Facebook ด้วย

            ด้วยการครอบคลุมพื้นที่หน้าจอและอุปกรณ์นี้ก็จะทำให้สื่อของเราเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น โอกาสที่จะแปลงผู้สนใจเป็นลูกค้าก็มีมากยิ่งขึ้นเช่นกัน

#2 อย่าลืม Click-to-call

            Click-to-call คือปุ่มหรือลิงค์ที่ให้ลูกค้าสามารถติดต่อเราได้ด้วยการโทรศัพท์ เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคยังถนัดที่จะคุยมากกว่าพิมพ์ ดังนั้น ช่องทางสื่อสารแบบเดิมคือการสนทนาทางโทรศัพท์ด้วยคอลล์เซ็นเตอร์ก็ยังมีความสำคัญอยู่ เพียงแต่เราสื่อสารไปยังผู้บริโภคออนไลน์ให้ทราบว่าพวกเขาสามารถคุยกับคอลล์เซ็นเตอร์ได้อย่างรวดเร็วด้วยปุ่ม Click-to-Call นะ ปุ่มนี้สามารถใช้กับสื่อโฆษณาออนไลน์ได้ทั้งหมดเช่นกัน

#3 คิดถึงการตลาดด้วยพิกัดพื้นที่

            เนื่องจากผู้บริโภคค้นหาสินค้าและบริการผ่านสมาร์ทโฟนเป็นส่วนใหญ่ การใช้การตลาดด้วยพิกัดพื้นที่ (Location based marketing) ก็มีความสำคัญไม่น้อย เมือไรผู้บริโภคค้นหาสินค้าและบริการในพื้นที่บริการของคุณ คุณก็สามารถสื่อสารไปยังผู้บริโภคให้มาใช้บริการได้ ซึ่งแน่นอนว่าลูกค้าต้องมีความประทับใจในความสะดวกเป็นอย่างมาก

            การสื่อสารด้วยพิกัดพื้นที่ก็สามารถทำได้ง่ายด้วยความสามารถของสื่อโฆษณาของ Facebook และ GDN โดยที่คุณไม่ต้องเป็นกูรูก็สามารถทำเองได้เช่นกัน

#4 ต้องผสมสสานอย่างแท้จริง

            การผสมผสานระหว่างออนไลน์กับออฟไลน์อย่างแท้จริงไม่ใช่เรื่องง่าย คุณอาจจะต้องเริ่มต้นที่กลยุทธ์ให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ด้วยการลงทุนในเทคโนโลยี CRM ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าได้อย่าง 360 องศาไม่ว่าลูกค้าจะปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจในช่องทางใดๆ

มันจะวิเศษมาก ถ้าพนักงานขายสามารถทราบได้ว่าลูกค้าที่เดินเข้ามาในร้านกำลังสนใจสินค้าอะไรอยู่ ลูกค้านี้เคยดูสินค้าอะไรบ้างในเว็บไซต์ของบริษัท และลูกค้านี้เคยสัมผัสหรือจับต้องสินค้าอะไรในร้าน สุดท้าย มันก็จะดีมากๆ ถ้าบริษัทมีระบบแนะนำพนักงานขายว่าเขาควรจะแนะนำสินค้าอะไรให้กับพนักงานคนนี้ด้วยโปรโมชั่นอะไร

นี่แหละที่จะบอกว่ามันต้องเป็นการผสมผสานทั้งออนไลน์และออฟไลน์อย่างแท้จริง คลิปนี้จะทำให้เข้าใจมากขึ้นนะ https://goo.gl/134Pv7

นาวิก นำเสียง

กรรมการผู้จัดการ

บริษัท ซันเด โซลูชันส์ จำกัด

navik@sundae.co.th

กลยุทธ์การตลาดบนเฟซบุ๊คที่ไม่ควรพลาด (2)

            ต่อจากตอนที่แล้วที่เกริ่นแนะนำเทคนิคและเครื่องมือที่จำเป็นของกลยุทธ์การตลาดบนเฟซบุ๊คที่ประกอบไปด้วย

  • Facebook Video
  • Live Video
  • โพสเนื้อหาให้เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ

ฉบับนี้เรามาติดตามกันต่อกับเครื่องมือของเฟซบุ๊คที่ได้รับความนิยมและเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจเหนือสื่อออนไลน์อื่นๆ สำหรับปี พ.ศ. นี้

ใช้เฟซบุ๊คเพจเพื่อบริการลูกค้า

            เฟซบุ๊คเพจ (Facebook Page) ได้กลายเป็นหนึ่งในช่องทางการสื่อสารกับลูกค้าที่มีประสิทธิภาพ ยิ่งมีจำนวนผู้ชื่นชอบมากเท่าไร ลูกค้าก็ยิ่งใช้เป็นช่องทางในการขอรับบริการมาขึ้นเท่านั้น เพราะความสะดวกในการสื่อสาร

            จากงานวิจัยของ Forrester ในปี พ.ศ. 2559 พบว่าร้อยละ 53 ของผู้บริโภคจะเปลี่ยนใจไม่ซื้อสินค้าและบริการ หากไม่ได้รับการตอบคำถามได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการบริการจึงไม่ได้อยู่ที่การบริการหลังการขายเท่านั้น แต่การบริการจะเริ่มตั้งแต่ก่อนการขาย ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยของการตัดสินใจซื้อสินค้า

            เฟซบุ๊คเพจจะมีบอกความรวดเร็วในการตอบคำถามด้วย ซึ่งบ่งบอกถึงมาตรฐานการให้บริการผ่านช่องทาง Facebook Messenger ด้วย

ผู้ชมที่คล้ายกัน (Lookalike Audience)

            ทุกวันนี้ความท้าทายของธุรกิจคือการลูกค้าใหม่ ลูกค้าใหม่ที่มีคุณภาพ มีโอกาสที่จะปิดการขายได้รวดเร็ว ดังนั้น ความสามารถในการสร้างลูกค้ามุ่งหวังที่คล้ายกันกับลูกค้าของคุณจึงสามารถตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจได้ เพียงแค่คุณจะต้องมีโปรไฟล์ลูกค้าของคุณเสียก่อน ซึ่งมาจากฐานข้อมูลจากระบบ CRM แล้วนำเข้าระบบของเฟซบุ๊ค หรือมาจากโปรไฟล์ของผู้ชื่นชมเพจของคุณก็ได้

            หลังจากนั้นคุณก็สามารถโฆษณาผ่านเฟซบุ๊คไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ชมที่คล้ายกันได้ วิธีนี้เราสามารถได้ลูกค้าใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าด้วยวิธีการลงโฆษณาแบบระบุโปรไฟล์ด้วยเสียอีก

สุดท้าย… แนะนำให้ใช้ Message Bots

            Message Bots เป็นเพลทฟอร์มของเฟซบุ๊คที่ช่วยสร้าง “บ็อท” เหมือนโปรแกรมให้พูดคุยกับลูกค้าได้ จะว่าไปก็เหมือนเราสนทนากับ Siri ของ iPhone ที่เราจะต้องกำหนดรูปแบบการโต้ตอบด้วย Send/Receive API

            ด้วยความสามารถของบ็อทนี้ ลูกค้าก็จะได้รับประสบการณ์ที่ดีด้วยการตอบคำถามได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญมันยังช่วยรับคำสั่งซื้อของคุณได้อีกด้วย เปรียบเสมือนมีพนักงานโต้ตอบการสนทนาแบบไม่จำกัดคนเลย

            เฟซบุ๊คเปิดเผยว่าขณะนี้มีบ็อทมากกว่า 100,000 บ็อทที่ใช้งานอยู่ขณะนี้ ส่วนใหญ่บ็อททำอะไรบ้าง

  • สร้างการรับรู้ของแบรนด์
  • หาลูกค้าใหม่
  • ปิดการขาย รับคำสั่งซื้อ
  • ให้บริการหลังการขาย

ด้วยบ็อทจะทำให้ซื้อขายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ในอนาคต เฟซบุ๊คก็ออกแบบการเชื่อมต่อด้วย API ให้มีความชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น การนำ Big Data มาใช้จะทำให้บ็อทเป็นปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) ที่มีประสิทธิภาพและช่วยธุรกิจได้อย่างแน่นอน

นาวิก นำเสียง

กรรมการผู้จัดการ

บริษัท ซันเด โซลูชันส์ จำกัด

Navik@sundae.co.th

กลยุทธ์การตลาดบนเฟซบุ๊คที่ไม่ควรพลาด (1)

            ในฐานะเครือข่ายสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง Facebook นักการตลาดคงจะไม่พลาดที่จะวางกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ Facebook เป็นแน่ ที่จะช่วยเสริมสร้างแบรนด์และสร้างยอดขายให้กับธุรกิจมากขึ้น

            Facebook ไม่ใช่เพียงเครื่องมือที่ช่วยให้พวกเราสื่อสารซึ่งกันและกันเท่านั้น แต่มันยังช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงแบรนด์ต่างๆ ได้ และสามารถเป็นสื่อโฆษณาที่ทรงพลังไม่น้อยหน้าหรืออาจจะดีกว่าสื่อโฆษณาออนไลน์อื่นๆ ด้วยซ้ำ

            อย่างไรก็ตาม ด้วยความหลากหลายในความสามารถของ Facebook ก็มิได้หมายความว่าเราจะใช้ความสามารถเหล่านั้นให้ประสบความสำเร็จได้ทั้งหมด จริงแล้วมันจะมีเพียงไม่กี่เครื่องมือที่ได้รับความนิยมและเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจเหนือสื่อออนไลน์อื่นๆ ที่จะขอแนะนำต่อไปนี้

เริ่มต้นจาก Facebook Video

            มากกว่า 100 ล้านชั่วโมงของวิดีโอคลิปที่ถูกชมในแต่ละวันผ่าน Facebook ซึ่งไม่น้อยหน้าไปกว่า Youtube เลย แล้ววันนี้ Facebook Video กลายเป็นอีกหนึ่งสื่อที่ได้รับความนิยมอย่างมากบน Newsfeed จนสามารถสร้างรายได้โฆษณาให้กับ Facebook ได้มากขึ้น จึงไม่แปลกใจเลยที่แบรนด์ต่างๆ เลือกที่จะใช้ Facebook Video เป็นหนึ่งกลยุทธ์เนื้อหา

            แบรนด์ต่างๆ จะสร้างวิดีโอคลิปมากขึ้น เพราะแนวโน้มการชมวิดีโอผ่านโมบายมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น โดยอีกแนวโน้มที่เกิดขึ้นคือการชมวิดีโอโดยไม่เปิดเสียงแต่จะอ่านจากคำบรรยานแทนเสียง (Caption) แทน ดังนั้น วิดีโอของคุณควรจะมีคำบรรยายแทนเสียงเป็นทางเลือกด้วย

            อีกเทคนิคหนึ่งที่ไม่ควรพลาดก็คือต้องใช้เป็น Native Video ด้วย หมายความว่าคุณจะต้องอัพโหลดวิดีโอของคุณผ่าน Facebook ไม่ใช่ใช้วิดีโอที่อยู่ในแพลตฟอร์มอื่น เช่น Youtube แล้วโพสใน Facebook อีกที ด้วย Native Video คุณจะมีได้อัตราการแชร์ที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 1055 (1055%) เลยทีเดียว ดังนั้นถ้าคุณมีทั้ง Facebook Page และ Youtube Channel คุณก็จะต้องอัพโหลดแยกกันทั้งสองแพลตฟอร์ม

Live video

            เราชื่นชมในความสามารถของ Facebook Video กันไปแล้ว แต่ช้าก่อน เพราะ Live Video ของ Facebook มีความสามารถยิ่งกว่าอีก Live Video มีประสิทธิภาพที่สูงกว่า สามารถดึงให้ผู้ชมให้ชม Live Video ได้นานกว่า Facebook Video ถึง 3 เท่า ด้วยความเร็วของอินเตอร์เน็ต ผู้บริโภคก็สามารถรับชม Video Streaming ของ Live Video ได้ง่ายขึ้นโดยไม่มีอาการสะดุด

            Live video มีความสร้างสรรค์และให้ความเป็นกันเองได้มากกว่าวิดีโอปกติ สามารถสื่อสารกันแบบทันทีทันใดในขณะนั้นได้เลย เรียกว่า โต้ตอบกันได้แบบสดๆ เลยทีเลย เทคนิคใช้ ดารา เซเลบริตี้หรือคนดังเป็นตัวแทนของแบรนด์แล้วมาถ่ายทอดสดด้วย Live Video ก็ได้ความสนใจไม่น้อย สามารถดึงดูดผู้ชมได้เป็นอย่างดี อีกอย่างการเล่าเรื่องเป็นเรื่องราวหรือซีรีย์ก็ได้รับนิยมไม่ใช่น้อย

โพสเนื้อหาให้เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ

            ทุกครั้งที่เราโพสเนื้อหานอกเหนือจากเราจะให้สาระความรู้กับผู้ชื่นชอบแล้ว บางครั้งเราควรจะนำเสนอสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เราโพสด้วย เช่น ถ้าเรากำลังพูดถึงความสำคัญของการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) เราก็สามารถแนะนำสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับโซลูชั่น CRM ไปด้วย อย่างน้อย มันก็เป็นหนึ่งทางเลือกที่ให้ผู้ชื่นชมสามารถตัดสินใจใช้บริการจากเรา

            กลยุทธ์นี้ไม่ได้เป็นการขายของแบบ Hard sell เราไม่ได้ยัดเยียดเนื้อหาที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการของเราโดยตรง ดังนั้น ผู้อ่านยังสามารถช่วยแชร์เนื้อหาได้อีกด้วยและเพิ่มโอกาสให้เราสามารถขายสินค้าได้มากยิ่งขึ้น

            ฉบับหน้าจะมาดูความสามารถอื่นๆ ของ Facebook ที่ไม่ควรพลาดในปีพ.ศ. นี้

นาวิก นำเสียง

กรรมการผู้จัดการ

บริษัท ซันเด โซลูชันส์ จำกัด

Navik@sundae.co.th

สร้างลูกค้าชั่วชีวิต

            คำว่า “ชั่วชีวิต” นั่นหมายถึง ตลอดกาล ตลอดชีพ ตลอดชีวิต ในแง่ของลูกค้าหนึ่งราย เรากำลังจะหมายถึงลูกค้าชั่วชีวิตที่จะต้องอยู่กับเรามากกว่า 60-70 ปี เลยทีเดียว

            บางคนอาจจะบอกว่าเราเลือกที่จะไม่รับใครเป็นลูกค้าชั่วชีวิตของเราก็ได้นิ ทำไมจะต้องแคร์ลูกค้าที่ไม่สร้างกำไรหรือไม่มีรายได้ให้กับเราด้วยล่ะ คำตอบมีทั้งใช่และไม่ใช่

            ธุรกิจยุคใหม่ ลูกค้าสำคัญของคุณไม่จำเป็นต้องเป็นลูกค้าที่ซื้อสินค้าของคุณมากที่สุด หรือเป็นลูกค้าที่เยี่ยมชมร้านของคุณมากที่สุดเสมอไป วันนี้ ลูกค้าสำคัญของคุณกลายเป็นลูกค้าที่มีเสียงดังที่สุด ดังในที่นี้ เราหมายถึงเสียงดังในสื่อสังคมออนไลน์ พวกเขาอาจจะซื้อสินค้าของคุณน้อยแต่สามารถเป็นกระบอกเสียงแนะนำสินค้าของคุณในแง่ดี ช่วยคุณขายสินค้าและบริการแบบไม่มีค่าจ้างใดๆ และในทางตรงข้าม พวกเขาอาจจะโวยวายในสื่อสังคมออนไลน์จนแบรนด์ของคุณเสียหายได้เช่นกัน ดังนั้นคุณคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องหาลูกค้าชั่วชีวิตของคุณให้ได้และจะดูแลอย่างไรให้ดีที่สุดในต้นทุนที่ไม่สูง

            “ลูกค้า” ในที่นี้จะรวมไปถึงลูกค้ามุ่งหวังที่ยังไม่เคยซื้อสินค้าและบริการจากคุณเลย จนไปถึงลูกค้าที่เคยซื้อสินค้าและบริการจากคุณ ดังนั้น การดูแลลูกค้าเหล่านี้จึงไม่ใช่เรื่องที่ง่าย เริ่มจากกระบวนการได้มาซึ่งลูกค้าเสียก่อน

            เดิมเรามักจะยึดติดกับช่องทางขาย (Sales Funnel) ที่ลูกค้าจะเริ่มจากลูกค้ามุ่งหวัง (Lead) ก่อน แล้วบริษัทฯ จะพิจารณาว่าลูกค้ามุ่งหวังนี้มีคุณสมบัติพร้อมที่จะเป็นลูกค้าหรือไม่ เพื่อแปลงเป็นโอกาสการขายให้พนักงานขายติดตามการขายต่อไป ในสถานะนี้ของลูกค้า ฝ่ายขายจะประคบประหงมลูกค้าเป็นอย่างดีและฝ่ายการตลาดก็จะไม่พลาดที่จะติดตามลูกค้ามุ่งหวังนี้ด้วยเช่นกัน เพื่อให้มั่นใจว่าแคมเปญที่ออกไปประสบความสำเร็จ ด้วยกลยุทธ์แบบนี้ คุณสามารถได้ลูกค้าชั่วชีวิตหรือไม่?

            แต่ในวันนี้ ธุรกิจให้ความสำคัญกับรายได้ต่อเนื่อง (Recurring revenue) มากขึ้น รายได้ที่มาจากลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่แบบเดิมที่จะดำเนินธุรกิจแบบหมาล่าเนื้ออีกต่อไป โดยเฉพาะเทคโนโลยีออนไลน์ที่ช่วยให้บริษัทสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ตลอดเวลาและสามารถสร้างรายได้ได้ทุกเมือทุกที่ตราบใดที่ลูกค้ายังอยู่บนโลกออนไลน์ การใช้ช่องทางขาย (Sales Funnel) แบบเดิมต้องเปลี่ยนแปลางไป ฝ่ายการตลาดไม่ใช่เพียงให้ความสำคัญกับสถานะใดสถานะหนึ่งของลูกค้าเท่านั้น แต่ฝ่ายการตลาดจะต้องสร้างความผูกพัน (Engagement) กับลูกค้าตลอดเส้นทางของลูกค้า (Customer Journey) เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้ายังคิดถึงแบรนด์เราเสมอและพร้อมที่จะแปลงเป็นการซื้อต่อไป

            ลูกค้าอาจจะเห็นโฆษณาของสินค้าแล้วเดินไปที่ร้านค้า กลับมาบ้านเพื่ออ่านรีวิวของบล็อกเกี่ยวกับสินค้าและเปรียบเทียบสินค้ากับผู้ขายอื่นๆ ลูกค้าอาจจะถามเพื่อนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ แล้วกลับมาเว็บไซต์เพื่อสั่งซื้อสินค้า เหล่านี้เรียกว่า เส้นทางของลูกค้า (Customer Journey) ที่เราก็ไม่รู้หรอกว่าลูกค้าจะเดินเส้นทางใดและอย่างไร แต่ในฐานะธุรกิจ เราต้องมั่นใจว่าเราสามารถสร้างความผูกพันกับลูกค้าได้ตลอดเส้นทาง

            การสร้างเนื้อหาและมีทรัพยากร เช่น เจ้าหน้าที่ให้บริการทางออนไลน์ เว็บไซต์ที่รองรับคำถามจากลูกค้า เป็นต้น ที่เพียงพอจะช่วยสร้างความผูกพันกับลูกค้าได้เป็นอย่างดี ลูกค้าจะเปรียบเทียบสินค้าของเรากับคู่แข่งเสมอก่อนการตัดสินใจซื้อ ดังนั้น ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบก็มีความสำคัญไม่น้อย

            การขายยุคใหม่จึงให้ความสำคัญกับการสร้างความผูกพันกับลูกค้า ฝ่ายขายและฝ่ายการตลาดจะต้องมีเครื่องมือที่จะสร้างความผูกพันกับลูกค้าได้ สามารถดูข้อมูลลูกค้าได้ 360 องศา วิเคราะห์โอกาสการขายที่เป็นไปได้กับลูกค้าแต่ละราย เพื่อการขายเพิ่ม ขายซ้ำ และสุดท้ายลูกค้าก็มีความสุข พึงพอใจในบริการของบริษัท

ตัวอย่างนี้เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยสร้างลูกค้าชั่วชีวิต http://bit.ly/2n2Y6TJ หวังว่าการสร้างความผูกพันกับลูกค้านี้จะสามารถสร้างรายได้ สร้างคุณค่าของลูกค้าและสุดท้ายกำไรของธุรกิจในที่สุด

นาวิก นำเสียง

กรรมการผู้จัดการ

บริษัท ซันเด โซลูชันส์ จำกัด

Navik@sundae.co.th

โมบาย… ต้องมาก่อน

            หลายปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือที่เรียกว่าสมาร์ทโฟนหรือโมบายอย่างมาก ด้วยการใช้โมบายเพื่อท่องอินเตอร์เน็ตและแอปพลิเคชั่น มากกว่า 5.7 ชั่วโมงต่อวัน (ข้อมูลจากสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) 2015 Q4) หรือจะกล่าวกันง่ายๆ ว่าผู้บริโภคถือโมบายตลอดเวลา เพียงแต่ว่าจะใช้งานเมือไรเท่านั้นเอง

            ด้วยจำนวนโมบายที่เติบโตมากขึ้นและมากกว่าประชากรของโลก จึงเกิดคำถามขึ้นว่าแล้วนักการตลาดควรจะเข้าถึงผู้บริโภคผ่านโมบายอย่างไรดี กลยุทธ์ที่ได้ยินกันบ่อยๆ ว่า Mobile-first หรือ โมบายต้องมาก่อน นักการตลาดจะต้อง พัฒนาธุรกิจใหม่ด้วยโมบายควรจะเริ่มต้นอย่างไรดี?

เราควรจะพัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่น (Mobile Application) หรือ เว็บไซต์ที่รองกับโมบาย (Mobile-responsive site) ดี?

            จริงแล้วมันมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป ที่นักการตลาดควรจะต้องทราบ เพื่อการตัดสินใจแนวทางที่ถูกต้องในอนาคต

            ก่อนอื่น ธุรกิจต้องเข้าใจก่อนว่าธุรกรรมผ่านโมบาย หรือ mCommerce กำลังเติบโตและ… อย่างรวดเร็วด้วย จากรายงานของ Mobile Marketing Association ในปี 2553 ระบุว่า ร้อยละ 6 ของผู้บริโภคมีธุรกรรมซื้อขายสินค้าและบริการผ่านโมบาย โดยมีเพียงร้อยละ 6.5 ของธุรกิจที่สามารถทำธุรกรรมผ่านโมบายได้

แต่ในวันนี้ เรากำลังพูดถึงร้อยละ 50 ของผู้บริโภคมีธุรกรรมผ่านโมบายและมากกว่าร้อยละ 25 ของธุรกิจที่สามารถทำธุรกรรมผ่านโมบายได้ (รายงานจาก Criteo) ซึ่งจะเห็นว่าธุรกรรมผ่านโมบายได้เติบโตอย่างรวดเร็วในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีเท่านั้นและคิดว่าอนาคตจะมาทดแทนธุรกรรมแบบเดิมได้ทั้งหมด ธุรกรรมการซื้อขายทั้งหมดจะผ่านโมบายอย่างเดียว

            เว็บไซต์ที่รองรับโมบายจะง่ายต่อการเข้าถึง เว็บไซต์ที่รองรับโมบายหมายถึงเว็บไซต์ปกติที่มีการแสดงเนื้อหาให้อ่านได้ง่ายบนหน้าจอโมบายที่มีขนาดเล็กและแคบกว่าหน้าจอคอมพิวเตอร์ เรียกกันว่า การออกแบบเว็บไซต์ให้เป็น Responsive ซึ่งการลงทุนจะต่ำกว่าการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่นมาก ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายเหมือนกับเว็บไซต์ปกติ โดยไม่ต้องดาวน์โหลดและติดตั้งเหมือนโมบายแอปพลิเคชั่น ที่สำคัญ มันยังช่วยให้ SEO ดีขึ้นด้วย เพิ่มผู้เข้าชมด้วยเสิร์ชเอ็นจิ้นมากขึ้น

            เราต้องไม่ลืมว่าผู้บริโภคมากกว่าร้อยละ 60 ยังค้นหาข้อมูลทั้งสินค้าและบริการ รวมไปถึงราคา คุณสมบัติและอื่นๆ ผ่านเสิร์ชเอ็นจิ้น ดังนั้น เว็บไซต์ที่รองรับโมบายจริงมีความสำคัญอย่างมาก คุณจะต้องพัฒนาเว็บไซต์ของคุณให้รองรับโมบายด้วย ง่ายๆ เพียงแค่คุณลองเข้าเว็บไซต์ของคุณผ่านโมบายแล้วคุณยังสามารถอ่านได้โดยไม่ต้องซูมและรำคาญมั้ย การออกแบบให้สนับสนุนโมบายจะช่วยให้โอกาสแปลงเป็นลูกค้ามากยิ่งขึ้น ลดการสูญเสียลูกค้าของคุณได้มาก

            ดังนั้น เว็บไซต์ที่รองรับโมบายจึงสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างมาก เพราะเว็บไซต์ถือเป็นหนึ่งช่องทางติดต่อกับลูกค้าที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก

            แต่ช้าก่อน โมบายแอปพลิเคชั่นสามารถสร้างความผูกพันกับลูกค้าได้ดี ลูกค้าที่จงรักภักดีจะยินดีและชอบที่จะใช้แอปพลิเคชั่นมากกว่า ในความเป็นจริงแล้ว โมบายแอปพลิเคชั่นสามารถเข้าถึงได้เร็วกว่า มีหน้าจอที่ง่ายต่อการใช้งานกว่า สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้มากกว่า เมือเทียบกับเว็บไซต์ที่รองรับโมบาย โมบายแอปพลิเคชั่นยังสามารถรองกับการใช้งานแบบ Offline ที่ไม่มีอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย เพียงแค่ผู้บริโภคจะต้องดาวน์โหลดและติดตั้งแอปพลิเคชั่นก่อนเท่านั้น นี่คืออุปสรรคใหญ่ แต่สำหรับลูกค้าที่จงรักภักดีต่อแบรนด์ของคุณ เรื่องนี้คงจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่แน่นอน

โมบายเป็นอุปกรณ์ที่ใกล้ตัวผู้บริโภคที่ธุรกิจสามารถเข้าถึงได้ง่ายที่สุด โมบายช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเป็นอย่างมากจนนำไปสู่ธุรกรรมการซื้อขายในที่สุด ดังนั้น ธุรกิจจึงต้องมีกลยุทธ์การตลาดผ่านโมบายที่ชัดเจน ด้วยการกำหนดเส้นทางของผู้บริโภค (Customer Journey) ที่จะเข้าถึงแบรนด์ของคุณ เช่น ลูกค้าใหม่ค้นหาแบรนด์ของคุณผ่านเสิร์ชเอ็นจิ้นแล้วมายังเว็บไซต์ของคุณ คุณต้องออกแบบเว็บไซต์ที่รองรับโมบายด้วย

สำหรับลูกค้าที่จงรักภักดีกับแบรนด์ของคุณแล้ว คุณก็ต้องตัดสินใจว่าคุณควรจะพัฒนาเว็บไซต์ให้มีการใช้งานที่เป็นส่วนบุคคล (Personalization) มากขึ้น เพื่อจูงใจให้เกิดการซื้อเพิ่ม แล้วตัดสินใจต่อว่าจำเป็นมั้ยที่จะต้องพัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่นที่สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าในอีกระดับหนึ่ง

นาวิก นำเสียง

กรรมการผู้จัดการ

บริษัท ซันเด โซลูชันส์ จำกัด

navik@sundae.co.th

นักการตลาดยุคดิจิตอลควรรู้ในปี พ.ศ. 2560?

            วันนี้การตลาดได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเมือเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา แล้วการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะรวดเร็วมายิ่งขึ้น นักการตลาดที่ไม่ได้ติดตามแนวโน้มกลยุทธ์และเทคโนโลยีใหม่ ก็อาจจะตามไม่ทันก็ได้ ซึ่งหมายถึงกระทบต่อธุรกิจของคุณนั้นเอง

            โดยทั่วไปแล้ว พื้นฐานการนำการตลาดออนไลน์ที่นำมาใช้ก็คงไม่ได้แตกต่างกันมากในหลักการ ตั้งแต่การสร้างการรับรู้ การสร้างความผูกพันธ์กับลูกค้า การแปลงจากผู้สนใจเป็นลูกค้า การรักษาลูกค้า และสุดท้ายการสร้างลูกค้าที่จงรักภักดี ด้วยการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของลูกค้ายุคดิจิตอลทำให้การเทคโนโลยีมีบทบาทอย่างมากที่นักการตลาดควรจะต้องรู้และติดตามอย่างใกล้ชิด

SEO กลยุทธ์เสริช์เอ็นจิ้น

            เสริช์เอ็นจิ้นหลักก็ยังคงเป็น Google และ Google ก็มีการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดอันดับของการแสดงผลจากการค้นหามาโดยตลอด โดยระยะหลัง Google ให้ความสำคัญกับการนำเสนอหน้าเว็บไซต์ในรูปแบบมือถือเป็นอย่างมากและต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของการนำเสนอที่ดีขึ้นรวดเร็วมากขึ้น ด้วยการนำเสนอการพัฒนาเว็บไซต์ใหม่ที่เรียกว่า AMP (Accelerated Mobile Pages) ให้กับนักพัฒนาเว็บไซต์ ดังนั้น นอกจากความสัมพันธ์ของคีย์เวิร์ดแล้ว นักการตลาดจะต้องเข้าเรื่อง AMP และให้ความสำคัญกับหัวข้อ รูปภาพและเนื้อหาที่เป็นย่อหน้าแรกที่ปรากฎ ลองดูตัวอย่างของการนำเสนอเว็บไซต์นี้ www.mashable.com ผ่านมือถือ

            นอกจากนี้ ปัจจัยอื่นๆ สำหรับกลยุทธ์เสิร์ชเอ็นจิ้น เช่น ลิงค์ เนื้อหา รูปภาพ ความเร็วการนำเสนอ เป็นต้น ก็ยังมีความจำเป็นอยู่ ที่นักการตลาดจะต้องศึกษาและเข้าใจด้วยเช่นกัน

สื่อสังคมออนไลน์

            สื่อสังคมออนไลน์ อาทิ Facebook, Instagram เป็นต้น ยังมีความสำคัญอยู่ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก ด้วยค่าใช้จ่ายโฆษณาที่ไม่สูงและยังสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดี แต่อย่างไรก็ตาม มันจะยากมากขึ้นที่จะสร้างความผูกพันธ์กับลูกค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การซื้อสื่อโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์จึงไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป เราจะต้องเข้าใจการลงโฆษณาแบบ Remarketing และการใช้ตำแหน่ง (Location based) มากขึ้นเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

            วิดีโอจะได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นในปีนี้ ดังนั้น ติดตามความเคลื่อนไหวและเทคนิคการใช้ Facebook Live VDO ให้ดี เพราะวันนี้มากกว่า 100 ล้านชั่วโมงต่อวันที่มีการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live และสามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ชมได้เป็นอย่างดี

ประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้ผ่านเว็บไซต์และสื่อดิจิตอล

            ปีนี้ นักการตลาดจะต้องให้ความสำคัญกับประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์และสื่อดิจิตอลต่างๆ เช่น โมบายแอปพลิเคชั่น เป็นต้น มากยิ่งขึ้น เราจะต้องออกแบบเว็บไซต์หรือสื่อดิจิตอลให้แต่ละองค์ประกอบสามารถคลิกได้และไปยังเป้าหมายที่เราต้องการได้ การใช้วิเคราะห์เส้นทางการใช้งานจะช่วยให้เราออกแบบได้ดียิ่งขึ้น

            การใช้ Google Analytics ก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่นักการตลาดจะต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้งเช่นกัน เพราะมันสามารถวิเคราะห์ประสบการณ์ของผู้ใช้จนไปถึงการได้มาของรายได้ จนในที่สุด เราสามารถใช้ Google Analytics ในการเพิ่มรายได้ผ่านสื่อดิจิตอล

            การทดสอบประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วยการเปรียบเทียบ (A/B Testing) ผ่านซอฟ์ตแวร์ เช่น VWO เป็นต้น ก็จะช่วยให้นักการตลาดสามารถวิเคราะห์การออกแบบเว็บไซต์ได้ด้วยตัวเลขที่วัดได้จริง ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ชม จำนวนคลิก หรือการแปลงเป็นรายได้ เพื่อที่จะหาปัจจัยในการออกแบบเว็บไซต์ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

นาวิก นำเสียง

กรรมการผู้จัดการ

บริษัท ซันเด โซลูชันส์ จำกัด

navik@sundae.co.th

IoT กับ IoE: สิ่งของ หรือ ประสบการณ์

           เทคโนโลยีได้มีวิวัฒนาการมาโดยตลอดและมีความเปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้นในช่วงการเกิดของอินเตอร์เน็ต ทั้งระบบเครือข่ายจากเครือข่ายมีสายสู่เครือข่ายไร้สาย ระบบคอมพิวเตอร์ที่รวดเร็วขึ้นด้วยขนาดที่เล็กลง ระบบซอฟต์แวร์ที่ชาญฉลาดขึ้น และ ระบบเซ็นเซอร์ที่สามารถตรวจจับทุกสิ่งทุกอย่างรวมถึงร่างกายมนุษย์ ด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้ คุณสามารถที่จะทราบสถานะของตัวเอง ตำแหน่งที่ตั้ง กิจกรรมต่างๆ ของสิ่งของกับตัวเรา เราเรียกมันว่า Internet of Things (IoT) ที่สิ่งของจะเชื่อมต่อกันผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือจะมองอีกแง่หนึ่งได้ว่า IoT จะทำให้เกิด “ชั้นดิจิตอลที่เต็มไปด้วยข้อมูลมหาศาลครอบคลุมพื้นที่โลกของเราอีกที”

            Forrester Research ได้คาดการณ์ว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า ทุกสิ่งในบ้านและอุปกรณ์ Gadget ทั้งหลายจะเชื่อมต่อกันผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มากกว่า 50 พันล้านอุปกรณ์ทั่วโลก คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 67 ล้านล้านบาท เลยทีเดียว

            จากจุดนี้ IoT ก็จะก้าวข้ามไปอีกหนึ่งขั้น เมือ IoT สามารถนำเสนอข้อมูลมหาศาลระหว่างสิ่งของได้และมีความสามารถในการประมวลผลเพื่อตอบสนองผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ไม่่ว่าจะในรูปแบบของการนำเสนอข้อมูลเป็นข้อความ รูปภาพ วิดีโอ หรือแม้กระทั้งเสียง การก้าวข้ามมาจุดนี้ได้ “สิ่งของ” จะไม่เป็นเพียงแค่ “สิ่งของ” อีกต่อไป “สิ่งของ” จะสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับผู้ใช้ด้วยข้อมูลของตำแหน่ง สิ่งของ กิจกรรมต่างๆ ที่เราเรียกว่า Internet of Experiences (IoE)

            ขณะที่ IoT จะเน้นความสำคัญไปที่ “สิ่งของ” แต่ IoE จะมองเป้าหมายที่สูงขึ้นไปอีกระดับในการสร้างประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้ใช้หรือผู้บริโภคด้วยความสามารถของสิ่งของที่ชาญฉลาดขึ้น นำไปสู่การบริการที่ดีขึ้น

            ปัจจัยหลักที่สามารถนำไปสู่ความสำเร็จของ IoE ต้องประกอบด้วย

การเชื่อมต่อ (Connected)

            อันนี้เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สิ่งของและเซ็นเซอร์จะต้องเชื่อมต่อถึงกันผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ยิ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบ Real-time ได้ก็ยิ่งดี แต่แน่นอนว่าต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นก็จะตามมาเช่นกัน

บริบท (Contextual)

            เมือทุกอย่างเชื่อมต่อกันหมดแล้วอย่างต่อเนื่อง สิ่งของจะต้องมีความชาญฉลาดขึ้นและปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้ใช้ เนื้อหาที่นำเสนอจะต้องตรงใจผู้ใช้ ด้วยการนำเสนอที่เป็นข้อมูลหรือบริการส่วนบุคคล (Individualised) เพื่อที่จะสร้างประสบการณ์ที่ดีแบบส่วนบุคคล (Customised expeience) อย่างแท้จริง

ความต่อเนื่อง (Continuous)

            สุดท้าย คงจะหนีไม่พ้นความสัมพันธ์ที่ดีกว่าลูกค้าอย่างต่อเนื่อง การปรับบริการที่ดีขึ้นจะช่วยสร้างความจงรักภักดีให้กับบริษัทและนำไปสู่การกลับมาซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง

            ตัวอย่างของ Huggies Tweetpee (https://goo.gl/QW5iR0) ที่ติดเซ็นเซอร์ไว้กับผ้าอ้อมเด็ก โดยเซ็นเซอร์จะส่งข้อมูลไปยังมือถือเมือผ้าอ้อมเด็กเปียกจนต้องเปลี่ยนใหม่ ด้วยความสามารถของเซ็นเซอร์และแอปพลิเคชั่นทำให้ลูกค้าพึงพอใจที่ไม่ต้องเป็นห่วงลูกน้อยของตัวเองและสามารถเช็คจำนวนผ้าอ้อมเด็กได้อีกด้วย ในแง่ของบริษัท บริษัทก็จะทราบพฤติกรรมของผู้บริโภค พฤติกรรมการเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็กและสุดท้ายทราบการสั่งซื้อผ้าอ้อมเด็กอีกด้วย ที่สามารถสื่อสารไปยังลูกค้าได้เมือถึงเวลาสั่งซื้อสินค้าเป็นต้น

            เมือ “สิ่งของ” เริ่มชาญฉลาดขึ้น เริ่มปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานได้ มันก็สามารถสร้างประสบการณ์ที่เป็นเลิศให้กับลูกค้าได้ ที่นำมาซึ่งรายได้บริษัทและความพึงพอใจของลูกค้า อย่างไรก็ตาม อย่าลืมไปว่า “สิ่งของ” ไม่มีชีวิต ลูกค้าเองก็ยังต้องการประสบการณ์ที่ดีกับคนที่มีชีวิตจิตใจที่สามารถเข้าใจคนกันเองได้ดีกว่า

นาวิก นำเสียง

กรรมการผู้จัดการ

บริษัท ซันเด โซลูชันส์ จำกัด

navik@sundae.co.th

วิดีโอโฆษณาที่โดนใจ

            วิดีโอโฆษณาถือเป็นสื่อดิจิตอลที่เติบโตอย่างมาก พร้อมกับความแพร่หลายของการใช้ Youtube และ Facebook Video ทำให้ตอบสนองความต้องการของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี ในที่สุดมันก็อาจจะมาแทนที่หรือเพิ่มสัดส่วนพื้นที่โฆษณาแทนที่โฆษณาทางโทรทัศน์ได้

            เราได้เห็นวิดีโอโฆษณาใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ทั้งการชมผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์และโมบาย วิดีโอโฆษณาก็มีความสร้างสรรค์มากขึ้น เพื่อที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น

            รายงานวิจัยของ Yahoo ร่วมกับ Nielsen & Hunter Qualitative ได้สำรวจกับผู้บริโภคกว่า 14,000 ราย เกี่ยวกับพฤติกรรมการชมวิโดโอโฆษณา ในช่วงปี พ.ศ. 2557-58 พบว่า ผู้บริโภคชมวิดีโอโฆษณาผ่าน

                        โมบาย                          เพิ่มขึ้น ร้อยละ 36

                        คอมพิวเตอร์ PC            เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7%

                        โทรทัศน์                       ลดลง    ร้อยละ 3%

            ความได้เปรียบของวิดีโอโฆษณาในรูปแบบดิจิตอลมีมากกว่ารูปแบบโทรทัศน์ดั้งเดิมมาก แต่ก็มิได้หมายความว่าวิดีโอโฆษณาทุกชิ้นจะได้เปรียบทั้งหมด หากไม่รู้เทคนิคในการสร้างวิดีโอโฆษณาให้โดนใจ ลองพิจารณาเทคนิคเหล่านี้ด้วยนะ ย้ำอีกครั้งว่านี่เป็นเทคนิคสำหรับวิดีโอเพื่อโฆษณานะ

โลโก้ต้องใหญ่และชัดเจน

            เราทราบว่าแนวโน้มการใช้โมบายเพื่อชมวิดีโอโฆษณาได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น ดังนั้นส่วนใหญ่โลโก้จะมีขนาดเล็กเมืออยู่บนโมบาย แต่จริงแล้ว โลโก้ขนาดใหญ่จะเพิ่มการรับรู้ในแบรนด์ของคุณได้มากกว่าเปรียบเทียบกับโลโก้ขนาดเล็ก

            ดังนั้น อย่ากลัวที่จะใช้โลโก้ขนาดใหญ่ ใหญ่พอที่จะดึงดูดความสนใจจากการดูผ่านโมบาย คิดถึงสมาร์โฟนที่มีจอขนาดเล็กด้วยนะ

            โลโก้ที่เข้าใจง่ายและชัดเจนในการสื่อความหมายก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ตัวอย่างของ Nintendo Switch ที่ใช้โลโก้ขนาดใหญ่ท้ายวิดีโอทำให้จดจำแบรนด์ได้ดียิ่งขึ้น ( https://youtu.be/f5uik5fgIaI )

ต้องมี Call-to-Action

            วิดีโอโฆษณาควรจะต้องมี Call-to-Action หรือกิจกรรมที่ต้องการให้ผู้ชมดำเนินการในขั้นตอนต่อไป อาจจะเป็นปุ่ม ลิงค์ ข้อความ หรืออะไรก็ได้ อย่างน้อยมันก็สามารถบอกถึงความสนใจของผู้ชมได้ เช่น สนใจอ่านต่อไป สนใจซื้อสินค้า เป็นต้น

            การใช้ Hastag # ก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ผู้บริโภคก็สามารถติดตามกิจกรรมหรือเนื้อหาอื่นๆ ในสื่อสังคมออนไลน์ด้วย Hastag นั่นๆ ได้

            อย่าลืมใส่ Call-to-Action ให้ทุกวิดีโอโฆษณาของคุณ ให้คิดเสมอว่ามี Call-to-Action เล็ก ย่อมดีกว่าไม่มี Call-to-Action เลย

            ตัวอย่างของซอฟต์แวร์บริหารบริการของ SAP นี้ ( https://youtu.be/ivoVWeLyTPU ) จะเห็นทั้งแบรนด์และ Call-to-Action ที่หลากหลายช่องทาง เหมาะกับลูกค้าเป้าหมายประเทศไทยอย่างยิ่ง

แนะนำแบรนด์ตลอดเวลา

            โดยทั่วไปแล้ววิดีโอโฆษณาจะมีความยาวที่สั้น ที่ไม่ทำให้ผู้ชมรู้สึกน่าเบื่อและยกเลิกการชมก่อนที่วิดีโอจะจบ ดังนั้นการแนะนำแบรนด์จึงทำได้ยากและจะต้องดูไม่ Hard sell จนเกินไป แนะนำให้มีการแนะนำแบรนด์ 3 ช่วงคือ เริ่มต้น กลาง และตอนท้าย การแนะนำแบรนด์อาจจะเป็นโลโก้ คำพูด รูปภาพ หรือข้อความก็ได้ ขึ้นอยู่กับประเภทของเนื้อหาในวิดีโอโฆษณานั่นๆ

โทนของวิดีโอโฆษณา

            โทนของวิดีโอโฆษณาก็มีความสำคัญเช่นกัน แต่ละโทนก็จะมีผลต่อกลุ่มลูกค้าที่ต่างกัน เช่น วิดีโอโฆษณาแนวขำขันก็จะสร้างความจดจำในแบรนด์ได้มากกว่า วิดีโอโฆษณาแนวสาระก็จะสร้างการจูงใจให้ซื้อสินค้าได้มากกว่า หรือ วิดีโอโฆษณาแนวดราม่าก็จะสร้างอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อแบรนด์ได้มากกว่า เป็นต้น

ลองวิดีโอโฆษณาแนวตั้ง

            การจัดวางรูปแบบวิดีโอโฆษณาก็มีผลต่อการชมด้วยเช่นกัน วิดีโอโฆษณาในแนวตั้งเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ส่วนใหญ่เราจะเห็นวิดีโอโฆษณาในแนวตั้งผ่านโมบายแอปพลิเคชั่นต่างๆ โดยเฉพาะแอปพลิเคชั่นที่แสดงผลแนวตั้งเท่านั้น

            ดังนั้นอย่าลืมการวางแบบแนวตั้ง มันก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการสร้างสรรค์วิดีโอโฆษณาได้เช่นกัน การทดสอบด้วยผลตอบลัพธ์ก็น่าจะเป็นอีกทางออกหนึ่ง

15 วินาที!

            สุดท้าย ความยาวของวิดีโอโฆษณาที่ 15 วินาทีจะได้รับสนใจจากผู้ชมมากที่สุด โดยเฉพาะการชมวิดีโอโฆษณาผ่านโมบายที่มีความสนใจต่ำกว่าคอมพิวเตอร์และโทรทันศ์

            อย่างไรก็ความยาวของวิดีโอโฆษณาก็ขึ้นอยู่กับโทนของโฆษณาด้วย ดังนั้น ลองการทดลองที่ความยาวต่างๆ ก็จะดีที่สุด

นาวิก นำเสียง

กรรมการผู้จัดการ

บริษัท ซันเด โซลูชันส์ จำกัด

navik@sundae.co.th

นักขายพันธุ์ใหม่ ยุคดิจิตอล

            การขายเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับองค์กร การขายเป็นศาสตร์แห่งศิลป์ในการโน้มน้าวผู้ชื้อให้เชื่อในสิ่งที่นักขายนำเสนอและซื้อสินค้าในที่สุด แต่ในยุคดิจิตอล นักขายมีโอกาสที่จะเจอผู้ชื้อแบบตัวต่อตัวน้อยลง  ดิจิตอลได้เปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ซื้อและการผูกสัมพันธ์กับผู้ซื้ออย่างสิ้นเชิง  ผู้ซื้อใช้เวลามากขึ้นบนโลกออนไลน์ ดังนั้น ธุรกิจจะต้องปรับกลยุทธ์การขายรวมถึงปรับองค์กรให้รองรับการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย

            การขายด้วยช่องทางเดิมๆ เช่น ทางโทรศัพท์ อีเมล์ พบหน้า เป็นต้น เพียงไม่กี่ช่องทางอาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป การสื่อสารและการขายที่หลากหลายช่องทาง (Omni-channel) จึงมีความจำเป็นที่ธุรกิจจะต้องลงทุนเพื่อเป็นเครื่องมือให้นักขายพันธ์ใหม่ได้ขายสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและใช้ต้นทุนต่อการขายที่น้อยลงด้วย

            จากแบบสำรวจธุรกิจชั้นนำ 2,000 รายในนปี พ.ศ. 2558 โดย Accenture พบว่า

  • ร้อยละ 81 ธุรกิจใช้เครื่องมือดิจิตอลในการหาลูกค้าใหม่
  • ร้อยละ 80 ธุรกิจใช้ซอฟต์แวร์บริหารการขายในการสร้างใบเสนอราคา
  • ร้อยละ 77 ธุรกิจใช้ซอฟต์แวร์บริหารการขายโดยให้ลูกค้าเซ็นยืนยันเพื่อปิดการขาย

นักขายจะมีกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการขายทุกวัน ตั้งแต่การหาลูกค้าใหม่ ติดต่อลูกค้า เสนอราคา เจรจาต่อรอง ปิดการขาย จนถึงบริการลูกค้าหลังการขาย กิจกรรมจะวนเวียนอยู่อย่างนี้ตลอด ดังนั้นเครื่องมือที่ทันสมัยจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างอัตโนมัติ ที่สำคัญกิจกรรมการขายข้างต้นได้ถูกเปลี่ยนมาเป็นดิจิตอลเป็นส่วนใหญ่แล้ว เช่น

  • การได้มาของลูกค้าใหม่ นักขายพันธ์ุใหม่สามารถหาได้จากสื่อสังคมออนไลน์ อย่าง Facebook หรือ LinkedIn เป็น
  • การติดต่อลูกค้า นักขายพันธ์ุใหม่ใช้สื่อสังคมออนไลน์หรือการสนทนาออนไลน์ได้ด้วยเช่นกัน
  • การปิดการขาย นักขายพันธ์ใหม่สามารถนำเสนอราคาด้วยแท็บเล็ตแล้วให้ลูกค้าเซ็นยืนยันได้ทันที เพื่อไม่ให้เสียโอกาสการขาย

โชคดีที่เครื่องมือบริหารการขายและเครื่องมือออนไลน์มีให้เลือกหลากหลาย ในราคาที่ไม่สูงและบางเครื่องมือดิจิตอลไม่เสียค่าใช้จ่ายด้วย ลองดูเครื่องมือบริหารการขายที่อยากจะแนะนำ ดังนี้

SAP Hybris Cloud for Sales

เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยบริหารการขายที่ทันสมัยในราคาที่ไม่สูง อีกทั้งยังสามารถต่อยอดไปสู่การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าของทั้งองค์กรได้ด้วย เช่น การตลาด การบริการ และระบบอีคอมเมิรซ์ ซอฟต์แวร์สำหรับการบริหารการขายถือเป็นแกนกลางของการใช้เครืองมือดิจิตอลทั้งหมด นักขายจะต้องเก็บข้อมูลลูกค้า กิจกรรมการขาย ติดตามโอกาสขายและกิจกรรมในทุกขั้นตอนการขายด้วยระบบนี้ ดังนั้น อยากให้เริ่มจากจุดนี้ก่อนแล้วใช้เครื่องมือดิจิตอลอื่นๆ ตามมา วิดีโออธิบายได้ดีถึงกิจกรรมหนึ่งวันของพนักงานขายพันธ์ใหม่ http://bit.ly/2crNfwS

LinkedIn

เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์สำหรับนักธุรกิจ นักขายพันธ์ุใหม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือของตัวเองด้วยการโพสต์ข้อความ บทความและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตัวเองได้ผ่าน LinkedIn นอกจากนี้ นักขายพันธ์ุใหม่สามารถค้นหาและสนทนากับลูกค้ามุ่งหวังที่มีแนวโน้มสนใจสินค้าและบริการของคุณได้ เว็บไซต์ LinkedIn ในประเทศไทยอาจจะยังไม่แพร่หลายมากนัก แต่นักธุรกิจและพนักงานผู้บริหารระดับกลาง-สูงจะใช้กันอย่างกว้างขวาง จึงเป็นกลุ่มเป้าหมายที่น่าสนใจ

Facebook

เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่แพร่หลายที่สุด ถึงแม้ว่า Facebook จะดูเหมือนเป็นสื่อสังคมออนไลน์เพื่อความบันเทิงมากกว่าเว็บไซต์ LinkedIn แต่ด้วยจำนวนผู้ใช้ที่มาก ดังนั้น Facebook จึงเป็นเครื่องมือสำคัญอย่่างหนึ่งสำรับการขายได้ คุณสามารถใช้ Facebook เพื่อหาลูกค้าใหม่ การแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้อื่นที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนก็สามารถสร้างโอกาสการขายใหม่ได้ เครืืองมือ Messenger ก็สามารถใช้สนทนากับลูกค้าแบบตัวต่อตัวได้ดีเช่นกัน

Google Drive

เป็นเครื่องมือที่ใช้เก็บไฟล์และเอกสารการทำงานของคุณได้ ช่วยให้นักขายพันธ์ุใหม่ทำงานได้ทุกที่และยังสามารถแชร์ไฟล์กับทีมงานขายได้อีกด้วย มันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้เป็นอย่่างดี นอกจากนี้ก็สามารถทำงานร่วมกับ Google Doc และบริการอื่นๆ ของ Google อีกด้วย ที่สำคัญคือไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

ยังมีอีกหลายเครื่องมือดิจิตอลสำหรับนักขายพันธ์ุใหม่ แต่สุดท้าย นักขายจะต้องเข้าไปอยู่ในโลกออนไลน์เอง ทั้งสนทนา แลกเปลี่ยน แชร์ กับลูกค้าของคุณ แล้วการขายของคุณจะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปิดการขายได้รวดเร็ว

นาวิก นำเสียง

กรรมการผู้จัดการ

บริษัท ซันเด โซลูชันส์ จำกัด

navik@sundae.co.th